วันอังคาร, ตุลาคม 13, 2552

The Quantum and the Lotus

When quantum physics meets Buddhism

A comprehensive discussion between scientist-turned-monk Matthieu Ricard and Vietnamese scientist Trinh Xuan Thuan

  • Published: 12/10/2009 at 12:00 AM
  • Newspaper section: Outlook 
The Quantum and the Lotus: A Journey to the Frontiers Where Science and Buddhism Meet is a colourful exploration of existing knowledge on the mind and the universe that seeks to stretch its boundary by another notch. Here, French scientist-turned-monk Matthieu Ricard engages in an in-depth conversation with Vietnamese scientist Trinh Xuan Thuan on a wide range of crucial scientific issues, from the origin of the universe, the particles phenomena, the matter of time and the chaos theory to the emergence idea, artificial intelligence and even the paradigms of how to realise beauty and truth.

Scientist-turned-monk Matthieu Ricard

In one respect, the book is a product of its time. Recent years have witnessed a proliferation of works on the themes of "science and religion" or "science and spirituality" in both European and North American markets. Of note is a well-known series under the Mind and Life Institute, which, since 1987, has released several cross-cultural dialogues between His Holiness the Dalai Lama and a handful of leading Western scientists.

The translation of this book into Thai is one of the first steps to enable Thai readers to experience the beautiful dialogue between science and spirituality. Praises should go in part to the two translators - Kulsiri Charoensupakul, a professional translator, and Buncha Thanaboonsombat, a well-known scientist - for having rendered a highly complex subject into mostly clear and readable Thai prose. Their impressive translation of William Blake's famous poem To See a World in the Grain of Sand, printed on the back cover, is likely to become a classic in its own right.

A former molecular biologist, Matthieu Ricard worked at a prominent research institute in collaboration with top scientists in Paris before taking up Tibetan Buddhism and becoming a personal translator for His Holiness the Dalai Lama. Thais have already been familiar with him from two outstanding books: The Monk and the Philosopher (Orchid, 1999) and Happiness: A Guide to Developing Life's Most Important Skill (Suan Ngern Mee Ma, 2008).

Trinh Xuan Thuan was born in a Buddhist Vietnamese family, and spent his formative years in Europe and in the US. An active astrophysicist at the California Institute of Technology, his research interests are galactic astronomy and galaxy formation. A few of Thuan's scientific books catered for people with non-scientific background have become best-sellers and have been translated into over 20 languages.


THE QUANTUM AND THE LOTUS: A Journey to the Frontiers Where Science and Buddhism Meet (Quantum kab Dok Bua) Matthieu Ricard and Trinh Xuan Thuan. Translated by Kulsiri Charoensupakul and Buncha Thanaboonsombat Suan Ngern Mee Ma, 512 pp, 420 baht ISBN 978-6119005464
The first chapter tackles head-on the differences between science and religion, albeit their ultimate goal of seeking the truth. Both Ricard and Thuan concur that the limitation of science is in its narrow focus, on knowledge, and not enough on the human quality such as happiness, ethics, and so on. Nonetheless, science is not evil by itself (can one say that the evil is rather latent in human nature?). Religion, on the other hand, is concerned about the practice of compassion and spiritual development. Complementary study of science and religion could thus pave the way toward greater realisation of truth.

Quantum and Lotus does raise hard questions - and lots of them. Did the universe have a beginning or is it merely a part of an infinite wheel with neither beginning nor end? How did quantum physics change our world view and the way of our life? What is the concept of truth and time? Is the perception of time only an illusion? What are the differences between worldly and ultimate realities? How did life and consciousness emerge from the complexity of vastly unknown relationships following the rule of interconnectedness? Is the consciousness study that reduces everything to brain basically unsound? If you are interested in such kinds of metaphysical questions, then this book is for you.

Through their energetic dialogue, the two writers give us an overview of knowledge map of both Buddhism and modern science before bringing us deep down to the new ocean of understanding where two streams of thought are intertwined. The enthusiastic Thuan sheds light on the modern scientific questions with adventurous examples drawn from lab experiments, whereas the calm and steady Ricard exchanges his ideas based on strong Buddhist practices and principles - the rule of interconnectedness and the logic chain of cause-effect. Their debate style is more constructive than competitive.

In the last chapter, Ricard argues how meditation goes beyond preoccupation with inner change, but also involves self-sacrifice for other beings. Meditation, says the monk, is more than leading a solitary existence in the midst of nature like birds or wild animals. Practitioners can help nobody if they do not understand the mechanisms of their own happiness and suffering. Last but not least, he affirms that being a good human is more important than being a devout follower. Spiritual development that emphasises ethics is thus of utmost importance and should not be restricted only to meditators.

Trinh Xuan Thuan

The Thai version of this book is quite dense at times. Some chapters are admittedly difficult, especially for those without a scientific background. Of interest is the disagreement between the two authors about the beginning of the universe, which provides a good example of the differences in the two strands of thoughts. While the Western scientific mind is a result of Western philosophy based on the linear idea of the divine Creator, the Buddhist concept is built on the Eastern philosophy of the non-linear, cyclical Wheel of Birth and Death, which has neither a beginning nor an end.

Another intriguing investigation concerns the consciousness study. What is consciousness? How does consciousness evolve? Is consciousness a separate part of the brain? It seems that Thuan the scientist has few explanations to this question compared to the Buddhist monk Ricard. However, scientific researches cannot provide sufficient grounds to prove and/or support the consciousness theory from the Buddhist viewpoint, either. Perhaps, the non-conformity of this issue is the distinction of the methodologies - objectivity among the scientific community and subjectivity for those pursuing the meditation path.

Reading this dialogue-style book, one should be aware that the religious perspectives here are the viewpoints of Madhyamaka Tibetan Buddhism, and not Buddhism in its entirety. The scientific world views presented here are also a standpoint of an astrophysicist, and not the whole corpus of scientific knowledge. In the Western context, this book might be sceptically perceived as another Buddhist propaganda. Still, each topic of in-depth discussions could be verified rationally. The humility of both writers provides a cordial atmosphere for readers from either scientific or Buddhism fields to peruse at their own discretion.

One clear conclusion that emerges from reading this book is how to accept the "differences" and try to seek clarification as best as one can. Then one will be able to avoid the pitfalls of uncompromisable chasm or overt reconciliation of the basic principles that results in an impractical theory of everything.


Writer: Cholnapa ANUKUL
Editor: Vasana Chinvarakorn


ป้ายกำกับ: , , ,

วันจันทร์, ตุลาคม 12, 2552

ควอนตัมกับดอกบัว


ควอนตัมกับดอกบัว: การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และศาสนามาบรรจบ
  
ผู้แต่ง มาติเยอร์ ริการ์ และตริน ซวน ตวน
ตีพิมพ์ภาษาไทยครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
ประเภท บทสนทนา วิทยาศาสตร์ พุทธศาสนา
ภาษาไทยพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา
แนะนำโดย ชลนภา อนุกูล


“ควอนตัมกับดอกบัว” เป็นหนังสือที่เขียนในลักษณะบันทึกบทสนทนาระหว่างมาติเยอ ริการ์ - นักบวชในพุทธศาสนา - ตัวแทนฝ่ายจิตวิญญาณ และตริน ซวน ตวน - นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ – ตัวแทนฝ่ายวิทยาศาสตร์ เนื้อหาว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นคำถามหลักที่วงการวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยกำลังให้ความสนใจ ตั้งแต่กำเนิดของเอกภพ ปรากฎการณ์ในระดับอนุภาค เรื่องของเวลา ทฤษฎีโกลาหล ทฤษฎีผุดบังเกิด ปัญญาประดิษฐ์ ไปจนถึงกระบวนทัศน์ในการมองโลก ความงาม ความจริง และการเข้าถึงความจริง - ถือได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยนจากมุมมองของพุทธศาสนาสายทิเบตและวิทยาศาสตร์ที่มีสีสันและมีขอบเขตกว้างขวางทีเดียว

จะว่าไปแล้ว หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ. ๒๐๐๔ และช่วงนั้นก็มีหนังสือประเภท “วิทยาศาสตร์กับศาสนา” หรือ “วิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณ” ตีพิมพ์ออกมาแพร่หลายแล้วในตลาดหนังสืออเมริกาและยุโรป และที่โดดเด่นเห็นจะเป็นชุดหนังสือของสถาบันจิตและชีวิต Mind & Life Institute ซึ่งก่อตั้งโดยอดัม เองเกิล นักธุรกิจ และดร. ฟรานซิสโก วาเรลา นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง โดยเริ่มตั้งแต่การสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับทะไล ลามะ ในปีค.ศ. ๑๙๘๗

หนังสือทำนองนี้โดยมากจะเป็นการสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับทะไล ลามะ หรือไม่ก็เป็นหนังสือที่เขียนโดยนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจและปฏิบัติภาวนาทางศาสนา แต่มีน้อยเล่มที่เป็นบทสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักบวช - เล่ม “ควอนตัมกับดอกบัว” เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

มาติเยอ ริการ์ เป็นนักชีววิทยาโมเลกุล เคยทำงานในสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกในกรุงปารีส ต่อมาหันเหชีวิตมาศึกษาพุทธธรรมและออกบวชเป็นพระภิกษุสายทิเบต ศึกษาธรรมะและเป็นล่ามแปลให้กับทะไล ลามะที่วัดเชเชน ใกล้เมืองกาฏมัณฑุ ในเนปาล หลวงพ่อมาติเยอเป็นที่รู้จักในแวดวงนักอ่านในเมืองไทยบ้างแล้ว จากหนังสือสองเล่ม คือ “ภิกษุกับนักปรัชญา” โดยสำนักพิมพ์ออร์คิด และ “ความสุข: คู่มือพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด” โดยสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา

ตริน ซวน ฮวน เกิดในครอบครัวชาวพุทธเวียดนาม เติบโตและทำงานสายวิทยาศาสตร์ อาชีพนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ประจำอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และเป็นผู้ชำนาญการและค้นคว้าเกี่ยวกับกำเนิดเอกภพ เขายังเป็นนักเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์สำหรับคนทั่วไปที่ได้รับความนิยมและขายดิบขายดีอีกหลายเล่ม ต้นฉบับทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ กว่ายี่สิบภาษา

บทแรกของหนังสือเล่มนี้ได้ปูพื้นเกี่ยวกับพื้นภูมิของผู้เขียนทั้งสอง ก่อนจะวางเข็มทิศของการสนทนาให้ผู้อ่านรับรู้ว่าเป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจในเป้าหมายที่แตกต่างกันระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา แต่ก็มีจุดร่วมกันในการแสวงหาความจริง และทั้งวิทยาศาสตร์และศาสนาจะช่วยเติมเต็มความรู้ความเข้าใจของมนุษย์อย่างไรได้บ้าง ในที่นี้ ผู้เขียนทั้งสองท่านเห็นร่วมกันว่า ข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์ก็คือสนใจแต่ความรู้ แต่ไม่ได้สนใจเรื่องคุณภาพของมนุษย์ เป็นต้นว่า ความสุข จริยธรรม อย่างไรก็ดี วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความชั่วร้าย แต่ความชั่วร้ายอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ ส่วนศาสนานั้นสนใจเรื่องการบ่มเพาะความกรุณา และการยกระดับจิตวิญญาณ และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และศาสนาน่าจะช่วยให้มนุษย์เข้าถึงความจริงได้สมบูรณ์ขึ้น

บทที่สองและสามว่าด้วยปัญหากำเนิดเอกภพ และดูเหมือนจะมีความขัดแย้งมากในทัศนะเรื่องการมีจุดเริ่มต้นหรือปฐมเหตุ (ผู้สร้าง) ตามทัศนะของฝ่ายวิทยาศาสตร์ และการไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ ตามทัศนะของฝ่ายพุทธศาสนา ซึ่งหลวงพ่อมาติเยอเชื้อเชิญให้พิจารณาว่า ทัศนะที่ต่างกันนี้อาจจะเกิดจากโลกทัศน์ทางปรัชญาที่กำกับอยู่ และปัญหาเรื่องกำเนิดเอกภพน่าจะเป็นคำถามทางปรัชญามากกว่าทางวิทยาศาสตร์ เพราะฐานปรัชญาที่แตกต่างก็นำมาสู่ทฤษฎีที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีบิ๊กแบง ทฤษฎีเอกภพคู่ขนาน ทฤษฎีเอกภพเกิด-ดับ และที่สำคัญที่สุดก็คือเจตจำนงของเอกภพ ดูเหมือนว่าหลักเหตุปัจจัย(ปฏิจจสมุปบาท) เป็นหลักของพุทธศาสนาที่มั่นคงมากในการพิจารณาสิ่งต่างๆ รวมทั้งทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ หากคำอธิบายทฤษฎีนั้นขัดแย้งกับหลักเหตุปัจจัยแล้วทางพุทธก็ปฏิเสธที่จะเห็นด้วยอย่างตรงไปตรงมา (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมหน้า ๔๑)

บทที่สี่ ห้า และหกใช้ปรากฎการณ์ระดับอนุภาคเป็นประเด็นหลักในการพูดคุย และพบว่ามีความสอดคล้องอยู่มากระหว่างหลักปฏิจจสมุปบาทและฟิสิกส์ควอนตัม นั่นคือ ตามทฤษฎีควอนตัม วัตถุและปรากฏการณ์นั้นเป็นสิ่งที่แบ่งแยกออกจากกันไม่ได้ และสรรพสิ่งอิงอาศัยกันทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค ดังการทดลอง EPR (แยกอนุภาคออกเป็นสองโฟตอน คือ a และ b แล้วพบว่าการเครื่อนไหวของ a จะสมมาตรกับ b เสมอ และไม่อาจอธิบายได้ว่าโฟตอนทั้งสองสื่อสารกันอย่างไรด้วยความเร็วมากกว่าแสง) และลูกตุ้มของฟูโกต์ (แขวนลูกตุ้มจากเพดานโบสถ์สูง เมื่อเวลาผ่านไป ลูกตุ้มจะเปลี่ยนแปลงทิศทางการแกว่ง ซึ่งพิสูจน์ว่าโลกกำลังหมุนรอบแกนตัวเอง) ปรากฎการณ์เหล่านี้แม้ทางวิทยาศาสตร์จะยังไม่อาจหาคำอธิบายได้ทั้งหมด และเรียกสิ่งที่ยังไม่ทราบว่า “ความจริงที่ถูกปิดบัง” แต่ทางพุทธนั้นมองว่าเหตุปัจจัยที่ยังไม่ทราบและระบุได้นั้นก็เป็นเพียงปฏิสัมพันธ์ของเหตุการณ์เท่านั้น ทัศนะทั้งพุทธและฟิสิกส์มีมุมมองที่ไม่แตกต่างกันในส่วนของอนุภาคมูลฐาน หากแต่พุทธยืนยันว่าความรู้ความเข้าใจตามแบบพุทธนั้นจะต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีในการรับรู้ความจริงและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง ดังเช่น การมองเห็นอนิจจังของโปรตรอน และทฤษฎีสตริง ความรู้เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ตามทัศนะของฟิสิกส์นั้น สำหรับพุทธแล้วคือการผนวกเอาความรู้นี้เข้ากับการมองโลกและชีวิต เพื่อลดการยึดมั่นถือมั่น และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในอย่างแท้จริง

บทที่เจ็ดและแปดพูดคุยเกี่ยวกับการรับรู้โลกผ่านกระบวนทัศน์แบบควอนตัม ว่าด้วยเรื่องของ “ความจริง” และ “เวลา” ทั้งนี้ ความจริงในทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นไปในระดับ “สมมติสัจจะ” ซึ่งจะต้องถูกวัด สังเกต และสื่อสารได้ในหมู่มนุษย์ หากแต่ปรมัตถสัจจะนั้นอยู่พ้นความคิดและถ้อยคำ ส่วนทัศนะเรื่องเวลานั้น พุทธมองว่าเป็นเรื่องสมมติ พ้นไปจากการมาและการไป พ้นไปจากความมีและไม่มี ปราศจากจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด และสนใจเฉพาะปัจจุบันขณะที่สดใหม่ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาตะวันตกมีแนวคิดเรื่องเวลาที่แตกต่างออกไป

บทที่เก้า สิบ และสิบเอ็ด กล่าวถึงองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังอยู่ในความสนใจ โดยเริ่มจากทฤษฎีความซับซ้อนและความโกลาหล ทฤษฎีผุดบังเกิด และปัญญาประดิษฐ์ที่ครอบคลุมความรู้ทางด้านประสาทและสมอง ทฤษฎีความซับซ้อนและความโกลาหลนั้นสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสายโซ่แห่งเหตุและผล แต่ขัดแย้งกับแนวคิดเชิงเส้นตรง ทฤษฎีผุดบังเกิดที่ใช้ในการอธิบายกำเนิดของชีวิตและจิตสำนึกนั้นดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับทางพุทธโดยเฉพาะในส่วนของการผุดบังเกิดจากปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนมหาศาลของเหตุปัจจัยต่างๆ แต่ก็ยังไม่สอดคล้องลงตัวดีนักในทัศนะว่าด้วยความต่อเนื่องจากจิตตามแนวคิดแบบพุทธ ที่ขัดแย้งกับการผุดบังเกิดของชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิต และการผุดบังเกิดของจิตสำนึกจากปฏิสัมพันธ์เหล่านั้น ในส่วนของปัญญาประดิษฐ์นั้นผู้เขียนทั้งสองเห็นร่วมกันว่าการศึกษาเรื่องจิตสำนึกในระดับสมองนั้นดูเหมือนจะผิดทาง และหลวงพ่อมาติเยอยืนยันอย่างหนักแน่นว่ามีเพียงศาสตร์แห่งสมาธิภาวนาเท่านั้นที่จะนำไปสู่การศึกษาจิตสำนึกและเปลี่ยนแปลงการทำงานของจิตใจได้

บทที่สิบสอง สิบสาม และสิบสี่ ออกจะเน้นมุมมองเชิงปรัชญาของฝั่งวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนาที่มีต่อกฎธรรมชาติ ตรรกะ และความงาม สำหรับพุทธแล้วจิตกับโลกไม่อาจแยกออกจากกันได้ โลกและปรากฎการณ์เกิดจากการรับรู้และเป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คณิตศาสตร์จะอธิบายธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับกวีที่สัมผัสรับรู้ความผสานสอดคล้องภายในกับปรากฎการณ์ออกมาเป็นความงาม และเช่นเดียวกับนักปฏิบัติภาวนาที่ฝึกฝนทางจิตวิญญาณ ส่วนตรรกะที่เป็นเครื่องมือเข้าถึงความจริงทางวิทยาศาสตร์นั้นก็พบว่าตนเองก็มีข้อจำกัด ดังที่ทฤษฎีความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล ฉะนั้น การฝึกฝนทางจิตที่เป็นการศึกษาแบบอัตวิสัยจะช่วยให้เข้าถึงความจริงที่พ้นไปจากการใช้ตรรกะได้ แต่ต้องอาศัยความเพียรและอดทน และท้ายสุดตวนชวนคุยเรื่องความงาม แต่หลวงพ่อมาติเยอก็ชี้ให้เห็นว่าการับรู้เรื่องความงามในเชิงสมมติสัจจะนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามภูมิหลังของแต่ละบุคคลและวัฒนธรรม และสำหรับนักบวชผู้รู้แจ้งย่อมไม่เห็นความแตกต่างระหว่างความงามและความน่าเกลียด หากแต่มองเห็นความงามในทุกที่และดำรงอยู่ในความปิติสุขตลอดเวลา

บทสุดท้ายนั้นหลวงพ่อมาติเยอชี้แจงว่า การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหมกมุ่นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงภายใน หากแต่หมายถึงการอุทิศตนเพื่อผู้อื่นด้วย การภาวนาไม่ได้หมายถึงการปลีกวิเวกไปอยู่ป่าเขาเช่นเดียวกับเหล่านกกา ขณะเดียวกันนักภาวนาย่อมไม่อาจช่วยเหลือผู้อื่นได้หากไม่เข้าใจกลไกของความสุขและความทุกข์ในตนเองอย่างแท้จริง และในตอนท้ายท่านยืนยันว่า การเป็นมนุษย์ที่ดีนั้นจำเป็นยิ่งกว่าการเป็นศาสนิกชน การพัฒนาทางจิตวิญญาณซึ่งให้คุณค่ากับจริยธรรมที่ช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในนั้นเป็นเรื่องจำเป็นนอกเหนือจากการศึกษาทางโลก เรื่องทางจิตวิญญาณไม่ใช่เรื่องที่ควรจะจำกัดอยู่เฉพาะคนที่ปฏิบัติภาวนา และความรู้เชิงทฤษฎีไม่อาจนำพาเราไปสู่แก่นแท้ของชีวิตได้เลย

บทสรุปของพระและนักวิทยาศาสตร์นั้นแสดงมุมมองของทั้งสองฝ่ายว่ามองเห็นความเหมือนและแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง ทั้งสองเห็นร่วมกันว่ามนุษย์จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และทางจิตวิญญาณในการเข้าถึงความหมายของมนุษย์ที่สมบูรณ์

หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างหนาทีเดียวในฉบับภาษาไทย บางบทอ่านเข้าใจได้ยาก หากไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์บ้าง ก็คงต้องเลือกอ่านแบบข้าม-ข้าม และจะว่าไปแล้วบทที่สิบสองถึงสิบสี่นั้นหากไม่มีก็ไม่น่าจะเป็นไร เพราะการสนทนาตลอดทั้งเล่มดูเหมือนจะได้ความเห็นตรงกันในภาพรวมว่าพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันในเรื่องควอนตัม ต่างกันในเรื่องของกำเนิดเอกภพ และแนวทางการศึกษาเรื่องจิต

ประเด็นขัดแย้งเรื่องกำเนิดเอกภพนั้นน่าสนใจ เนื่องจากเมืองไทยรู้จักแต่ทฤษฎีบิ๊กแบง ทั้งที่ทฤษฎีว่าด้วยกำเนิดเอกภพของฝรั่งนั้นมีหลายแบบ และเป็นตัวอย่างที่ดีที่สะท้อนถึงปรัชญาเบื้องหลังความเชื่อนั้น นั่นคือ ทัศนะทางวิทยาศาสตร์ก็อยู่ในบริบทแบบปรัชญาตะวันตกว่าด้วยพระเจ้าผู้สร้างและแนวคิดเชิงเส้นตรง ส่วนทัศนะแบบพุทธก็อยู่ในบริบทแบบปรัชญาตะวันออกที่ว่าด้วยวัฏจักรแห่งการเกิดดับและแนวคิดอันปราศจากจุดเริ่มต้นและจุดจบ

ประเด็นเรื่องจิตผู้รู้หรือจิตสำนึกนั้น ทางวิทยาศาสตร์ยังขาดคำอธิบายมาก อาจจะเป็นเพราะตวนเป็นนักฟิสิกส์ ไม่ถนัดเรื่องนี้มากนัก แต่น่าจะชวนคุยในเชิงปรัชญาได้ และดูเหมือนทางพุทธจะมีองค์ความรู้ในการอธิบายเรื่องนี้มากกว่า หากแต่ยังขาดการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาตรวจสอบยืนยัน และเป็นไปได้ว่ายังขัดแย้งในหลักการศึกษา เพราะวิทยาศาสตร์เน้นความเป็น “ภววิสัย” ในขณะที่การปฏิบัติทางจิตภาวนาเป็น “อัตวิสัย”

สิ่งที่พึงตระหนักก็คือ ทัศนะทางศาสนาในที่นี้คือ พุทธศาสนาแบบทิเบต สายมัธยมิก ไม่ได้หมายถึงพุทธศาสนาทั้งหมด ส่วนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในที่นี้คือ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ไม่ได้หมายถึงวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ฉะนั้น บทสนทนานี้จึงสะท้อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บางส่วน” ระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา – ไม่ได้หมายถึงว่าบทสรุปของพระและนักวิทยาศาสตร์จะกลายเป็นบทสรุปของวิทยาศาสตร์และศาสนาโดยรวม

อีกข้อสังเกตหนึ่งก็คือ ในบริบทของสังคมตะวันตกนั้น หนังสือเล่มนี้มีแนวโน้มที่จะถูกมองว่าเป็นหนังสือที่เผยแผ่ประชาสัมพันธ์พุทธศาสนา แต่ก็ยังอยู่ในลักษณะพอตรวจสอบได้ ไม่วางตนว่าพุทธ “เหนือ” กว่าวิทยาศาสตร์

ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้เห็นจะเป็นที่ มีการยืนยันว่า “ความต่าง” ที่ชัดเจนนั้นเป็นอย่างไร ต่างกับไดอะล็อกหรือบทสนทนาอื่นที่เน้นการประนีประนอมจนเกินเหตุ เหมาให้ทุกอย่างเหมือนกันไปหมด และกลายเป็นสามัคคีศาสตร์ไปจนหมด

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 08, 2552

ปัญญาญาณแห่งการอภัย



The Wisdom of Forgiveness: Intimate Conversations and Journeys
  
ผู้แต่ง วิกเตอร์ ชาน และทะไล ลามะ
ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๔๗
ประเภท บทสัมภาษณ์ สารคดี จิตวิญญาณ
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ริเวอร์เฮด
แนะนำโดย ชลนภา อนุกูล


   ออกจะเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อย ที่ผู้ลี้ภัยทางการเมืองจะสามารถรักษาความร่าเริงแจ่มใส มีอารมณ์ขัน และเปี่ยมด้วยความกรุณาแม้แต่ผู้ที่เป็นศัตรูของตน ตลอดเวลาที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองมารดรของตนมากว่า ๔๕ ปี แต่ทะไล ลามะ ผู้นำทางการเมืองและจิตวิญญาณของชาวทิเบต ก็เป็นพยานยืนยันอย่างดีต่อโลก ว่ามีแต่หนทางของสันติวิธีเท่านั้นที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างแท้จริง ทั้งยังชี้ให้เห็นว่า แม้ความรู้ยิ่งใหญ่มหาศาลก็อาจนำมนุษยชาติไปสู่หายนะได้หากปราศจากหัวใจที่ดีงาม ดังที่เหตุการณ์ ๑๑ กันยา และสงครามทั้งหลายแหล่ ก็เป็นประจักษ์พยานของการใช้ความรู้ในการประหัตประหารสรรพชีวิตอย่างไร้หัวจิตหัวใจ

หนังสือ The Wisdom of Forgiveness : Intimate Conversations and Journeys เป็นความพยายามที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของปัญญาญาณในพุทธศาสนา ที่นำไปสู่การไม่ถือโกรธและให้อภัย จากตัวอย่างที่มีชีวิตในยุคสมัยของเรา – ทะไล ลามะ - ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี ค.ศ. ๑๙๘๙

วิกเตอร์ ชาน นักเขียนเชื้อสายจีนมีความสนิทสนมชิดเชื้อกับทะไล ลามะ มากว่าสามสิบปี เขาเริ่มสัมภาษณ์พระองค์ท่านตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ได้เข้าพบใกล้ชิด และเดินทางร่วมกับพระองค์ไปยังที่ต่างๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายปี กว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นหนังสือเล่มนี้

เนื้อหาหนังสือแบ่งเป็น ๒๐ บท แต่ละบทไม่ยาวนัก เน้นการเล่าเรื่องผ่านเหตุการณ์และบทสนทนาต่างๆ ผ่านมุมมองอันหลากหลาย เพื่ออธิบายบุคลิกและลักษณะนิสัยใจคอของผู้นำทางจิตวิญญาณท่านนี้ ตลอดจนแง่มุมความคิดและการฝึกฝนปฏิบัติของพระองค์ ที่นำไปสู่ความไม่โกรธและการให้อภัย

ในบทเริ่มต้นของหนังสือ ชานบรรยายภาพของทะไล ลามะ เมื่อปรากฎต่อฝูงชน ทั้งกองทัพนักข่าวและผู้เข้าร่วมฟังปาฐกถาหลากชาติพันธุ์จำนวนมหาศาล ว่าเต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขันและความเมตตา ครั้นถามถึงเหตุที่ทำให้ผู้คนเหล่านั้นนิยมชมชื่นในตัวท่าน ทะไล ลามะก็ให้คำอธิบายว่า อาจจะเป็นเพราะท่านมองโลกในแง่ดี และมองเห็นผู้อื่นเป็นมนุษย์ร่วมเกิดแก่เจ็บตายเช่นเดียวกัน ตัวท่านเองนั้นแม้จะหัวเราะเสียงดังบ่อยครั้ง แต่ก็มีอารมณ์เศร้าได้บ้างในบางที หากก็อยู่ไม่นานนัก เปรียบกับมหาสมุทร ที่มีคลื่นกระเพื่อมอยู่ด้านบน แต่ภายในข้างใต้กลับสงบนิ่ง และคุณสมบัติในข้อนี้เองก็ได้รับการยืนยันจากสาธุคุณเดสมอนด์ ตูตู ซึ่งกล่าวว่า ทะไล ลามะทำให้ผู้คนรอบข้างรู้สึกยินดีต่อการเป็นมนุษย์

ชานเองก็มีความประทับใจในตัวทะไล ลามะมาก นับตั้งแต่พบกันครั้งแรกเมื่อเขายังเป็นคนหนุ่ม เพิ่งทุลักทุเลจากการถูกจับเป็นตัวประกันที่เมืองคาบุล อัฟกานิสถาน หลังจากหนีออกมาได้พร้อมเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกสองคน หนึ่งในนั้นสมาทานพุทธทิเบต เขาจึงได้มีโอกาสเข้าพบท่าน และตั้งคำถามอันอาจหาญ “ท่านเกลียดคนจีนไหม?”

ทะไล ลามะ ในวัย ๓๗ ปี ขณะนั้น ยังหนุ่มคะนองนัก ทั้งยังหัวเราะไม่หยุด ตั้งแต่เห็นชานในเครื่องแต่งกายเป็นฮิปปี้มาเข้าพบ ครั้นได้ยินคำถามดังกล่าวก็จ้องมองหน้าชานเขม็งก่อนตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ไม่” ก่อนขยายความว่า แม้ชาวทิเบตจะถูกกระทำย่ำยี ชาวจีนก็ยังเป็นเพื่อนอยู่เสมอ ทิเบตมีปัญหาขัดแย้งกับรัฐบาลจีนคอมนิวนิสต์เท่านั้น สิ่งที่รัฐบาลจีนกระทำนั้น เป็นสิ่งที่ชาวทิเบตอภัยให้ได้

คำตอบที่ได้รับในครั้งนั้นประทับจิตประทับใจชานอยู่เสมอ เขาเริ่มสนใจทิเบตมากขึ้น จากเดิมที่เกิดและโตในฮ่องกง ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก แต่รู้เรื่องทิเบตน้อยมาก รู้จักแต่เพียงลามะทิเบตที่เก่งกล้าสามารถจากนิยายของกิมย้งเท่านั้น ทั้งนิยายกำลังภายในก็เต็มไปด้วยเรื่องของการแก้แค้น ชานกลายเป็นนักวิจัยเรื่องทิเบต ใช้เวลาเดินทางไปทิเบตนับสิบครั้ง และเขียนหนังสือเกี่ยวกับทิเบตเล่มหนาเตอะ

ในการเขียนหนังสือร่วมกับทะไล ลามะ เล่มนี้ เขาได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าพบทะไล ลามะ ในโอกาสพิเศษต่างๆ รวมทั้งการตื่นขึ้นมาภาวนาเพื่อนั่งสมาธิและทำวัตรเช้าตั้งแต่ตีสี่ในตำหนักส่วนพระองค์ ชานได้บรรยายกิจวัตรประจำวันของทะไล ลามะไว้ค่อนข้างละเอียด ทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะมีชั่วโมงทำงานค่อนข้างรัดตัวและต้องเดินทางบ่อยครั้ง ทะไล ลามะกลับมีใบหน้าอ่อนเยาว์ ซึ่งอาจจะเป็นผลจากการบำเพ็ญภาวนาไม่ยึดติดในอารมณ์ต่างๆ ตลอดจนการละเว้นจากความโกรธ อันมีพื้นฐานมาจากการตระหนักรู้ในโทษของอารมณ์ด้านลบ ที่นำไปสู่ความรุนแรงได้

จากนั้น ชานได้นำพาเราไปพบกับเรื่องราวของผู้คนที่ดำเนินชีวิตอยู่บนวิถีที่พ้นไปจากความโกรธแค้น ไม่ว่าจะเป็น โลปอน-ลา พระทิเบตที่ถูกเจ้าหน้าที่จีนจับไปทรมานและอยู่ในคุกยี่สิบปี ริชาร์ด มัวร์ เด็กหนุ่มที่ตาบอดตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ เพราะถูกยิงด้วยกระสุนยางจากทหารควบคุมจราจลเข้าที่ตาขวา และสาธุคุณเดสมอนด์ ตูตู ผู้เคยรับฟังเรื่องราวจากเหยื่อของการเหยียดผิวสองหมื่นกว่าคน เพื่อเยียวยาและสมานฉันท์บาดแผลในประเทศอาฟริกาใต้ และแม้กระทั่งทะไล ลามะเอง ก็ต้องฝึกปฏิบัติภาวนาอย่างหนักหน่วงเพื่อลดความโกรธเกลียด และเพิ่มพูนความกรุณา

เรื่องเล่าแห่งความกรุณาของทะไล ลามะ ที่โดดเด่นยิ่ง เห็นจะเป็นเรื่องแถลงการณ์ประนามรัฐบาลจีนต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่เทียน อัน เหมิน ซึ่งนักศึกษาจีนถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ณ เวลานั้น เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่กำลังจะมีการเจรจาระหว่างจีนและทิเบต ในโอกาสอันงามที่หาได้ยากเช่นนี้ ทะไล ลามะได้เลือกที่จะปกป้องรักษาสิทธิในอิสรภาพและประชาธิปไตยของนักศึกษาจีนมากกว่าความหวังของชนชาติทิเบตเอง และแม้ในการเดินทางมายุโรปครั้งแรก ในการพูดปาฐกถาต่างๆ ก็มีถ้อยคำน้อยมากที่กล่าวถึงทิเบต หากพูดถึงแต่เรื่องของความกรุณา การมีหัวใจดีงาม และความรู้สึกรับผิดชอบโดยรวม ครั้นถูกที่ปรึกษาติติง ท่านก็ให้เหตุผลว่า ผู้คนเหล่านี้ล้วนมีปัญหาของตนเองหนักหนาพออยู่แล้ว และก็หวังว่าท่านจะช่วยได้ ท่านจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะเพิ่มภาระของท่านให้กับผู้อื่นได้อีก

ความกรุณาของอวตารแห่งองค์พระโพธิสัตว์อันปราศจากขอบเขตนี้ดูเหมือนจะเป็นภาพพจน์ที่ผิดไปจากความเข้าใจของชาวจีนโดยมากทีเดียว จะมีข้อยกเว้นก็แต่ปัญญาชนจีนที่ปราศจากอคติและได้มีโอกาสได้พบปะกับทะไล ลามะโดยตรง ซึ่งต่างก็ยกย่องให้ความเป็นผู้มีกรุณาของพระองค์

เรื่องที่ว่าด้วยความกรุณาอีกเรื่องก็คือ ชายหนุ่มตาบอดผู้หนึ่งได้ขายบ้านเรือนเดินทางมากับแม่ผู้ชรา ผ่านทิเบต เนปาล อินเดีย เพื่อมาเฝ้าองค์ทะไล ลามะ ในพิธีกาลจักร ท่านมองเห็นชายหนุ่มผู้นี้กับแม่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก ก็ได้เข้าไปทักทายไต่ถาม เมื่อทราบเรื่องก็ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์หลวง และในเวลาไม่นานก็ได้รับทราบว่ามีพระทิเบตอีกรูปได้แสดงความประสงค์ที่จะอุทิศดวงตาให้อีกข้าง โดยพร้อมที่จะผ่าตัดมอบดวงตาให้ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ ชานค่อนข้างรู้สึกประหลาดใจกับน้ำใจไมตรีดังกล่าวมากทีเดียว

การปฏิบัติภาวนาของทะไล ลามะ ที่นำไปสู่การให้อภัยนั้นตั้งอยู่บนฐานของความกรุณาและการตระหนักรู้ถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งผ่านการพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

ท่านเล่าว่า เริ่มฝึกปฏิบัติความกรุณาบนวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ตั้งแต่อายุสามสิบสองปี และมองว่าความกรุณานั้นเป็นวิธีการ ซึ่งเปรียบได้กับการนวดดินเหนียวให้นุ่ม ส่วนการพิจารณาเรื่องความว่างนั้นนำไปสู่ปัญญา เปรียบได้กับการขึ้นรูปดิน การปฏิบัติภาวนาสองเรื่องควบคู่กันไปนี้ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์โภชผลอย่างยิ่งยวด

ในวิถีพุทธนั้นเชื่อว่าสรรพสิ่งต่างถูกร้อยโยงเข้าไว้ด้วยกัน ประดุจดังตาข่ายของอินทรเทพ การกระทำหนึ่งย่อมส่งผลต่อสิ่งอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับทฤษฎีผีเสื้อกระหยับปีก หากเข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง ย่อมเข้าใจเหตุแห่งความรุนแรงต่างๆ ในโลกได้ ว่าทุกคนก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งนั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การขจัดความรุนแรงบนโลกก็คือการหลีกเลี่ยงความรุนแรงภายในตัวเรานั่นเอง

เรื่องที่ออกจะดูยุ่งยากสำหรับชาวตะวันตกเห็นจะเป็นการทำความเข้าใจเรื่องความว่าง หรือ อนัตตา ชานก็ยอมรับว่าเขาไม่อาจเป็นลูกศิษย์ที่ดีนักของทะไล ลามะในเรื่องนี้

ปรกติแล้วผู้ปฏิบัติธรรมมักไม่ค่อยเล่าประสบการณ์การภาวนาให้ผู้อื่นฟังนัก ดังกรณีที่นักภาวนาสายขงจื๊อได้เอ่ยถามทะไล ลามะขึ้นมาครั้งหนึ่ง หากแต่ท่านก็เลี่ยงที่จะไม่ตอบ อย่างไรก็ดีชานก็มีโอกาสรับฟังจากทะไล ลามะ ถึงภาวะในการภาวนาครั้งหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดค่อนข้างมาก และน่าสนใจทีเดียว

ในช่วงสุดท้ายของการเดินทางร่วมกัน ชานได้ติดตามทะไล ลามะไปร่วมประกอบพิธีกาลจักรที่เมืองโพธิคยา ซึ่งถือเป็นพิธีสำคัญของชาวพุทธทิเบต แต่การณ์กลับเป็นว่า ท่านเกิดป่วยขึ้นมากระทันหัน และป่วยหนักเสียจนไม่อาจทำพิธิได้ ชานไม่ได้พบท่านอีกเลยถึงสองเดือนหลังจากนั้น เมื่อพบกันในภายหลัง ท่านก็เล่าว่าขณะที่ป่วยนั้น ระหว่างที่เดินทางไปโรงพยาบาล ท่านเห็นภาพผู้คนที่ทุกข์ยากอยู่ข้างทางไม่ได้รับการเหลียวแล ต่างจากท่านอย่างมาก ดังนั้น แม้จะมีความทรมานทางกาย แต่ท่านก็มีความเบิกบานทางธรรมมาก และมองว่าความเจ็บป่วยเป็นครูทางจิตวิญญาณที่ดี

ก่อนสิ้นสุดการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้าย ทะไล ลามะได้เปลี่ยนบทจากผู้ถูกถามมาเป็นผู้ถามบ้าง โดยถามถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวของชาน ซึ่งเขาก็ตอบอย่างซื่อๆ ว่า อย่างน้อยเขารู้สึกว่าตัวเองน่าจะเป็นตัวแบบที่ดีให้กับลูกได้บ้าง

ในตอนท้ายของหนังสือ ชานได้ชี้ให้เห็นภาวะทางจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงกับทางกายอย่างเด่นชัด ซึ่งก็คือสุขภาพหัวใจของทะไล ลามะ ที่แข็งแรงเหมือนกับเด็กหนุ่มอายุยี่สิบปี ซึ่งเป็นผลจากการใช้ชีวิตเรียบง่ายและการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างละเอียดลึกซึ้งจนเข้าถึงความสงบทางใจ และแม้แต่ความโกรธก็ไม่อาจเข้ามากร้ำกรายทำลายความสงบภายในได้เลย

หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอวิถีการปฏิบัติแบบพุทธที่นำไปสู่การให้อภัย แม้จะไม่ใช่ลักษณะของคู่มือการให้อภัยแบบสำเร็จรูป แต่ก็ประสบผลสำเร็จในการนำเสนอเรื่องนามธรรมผ่านรูปธรรมของเหตุการณ์และเรื่องเล่าต่างๆ

เรื่องเล่าว่าด้วยความกรุณาทั้งหลาย ทั้งของทะไล ลามะเอง หรือของผู้อื่น นั้นดูเหลือเชื่อ แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยปัจจุบัน ลำดับขั้นของความกรุณาก็ดูจะแตกต่างกันไป ทำให้เห็นว่าความกรุณาอันล้นพ้นประมาณปราศจากขอบเขตนั้นย่อมอยู่เหนือตัวตนออกไป

ประเด็นหลักของหนังสือนั้นอยู่ที่มรรควิธีที่นำไปสู่การให้อภัย ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความกรุณาและการพิจารณามองเห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง วิธีปฏิบัติที่นำไปสู่จุดหมายทั้งสองประการนั้นปรากฎอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของผู้นำทางจิตวิญญาณชาวทิเบตอย่างค่อนข้างเด่นชัด หนังสือไม่ได้เสนอภาพของวีรบุรุษผู้อาจหาญ หรือความเคร่งครัดสำรวมของนักบวช หากแต่เสนอความเป็นมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา เป็นความติดดินอันแสนธรรมดา และนี่เอง อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้ปุถุชนอย่างเราท่านรู้สึกและเชื่อมั่นในตนเองได้มากขึ้น ว่าหนทางที่ปราศจากความโกรธเกลียด พ้นไปจากอารมณ์ด้านลบ เข้าถึงความสุขที่แท้ มีความสงบทางใจ ด้วยการอุทิศตนเพื่อรับใช้สรรพสัตว์ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน








วิกเตอร์ ชาน เกิดและเติบโตในฮ่องกง ก่อนที่จะย้ายไปศึกษาต่อที่แคนาดาสาขาฟิสิกส์ แต่ชีวิตก็หักเหไปเมื่อถูกลักพาตัวที่คาบุล พร้อมกับเพื่อนผู้หญิงอีกสองคน เมื่อหนีออกมาได้ ก็มีโอกาสพบกับทะไล ลามะ ความประทับใจที่เกิดขึ้นครั้งนั้นเป็นเครื่องเร้าให้เขาสนใจทิเบต และเขียนหนังสือ Tibetan Handbook: A Pilgrimage Guide ซึ่งหนากว่าพันหน้า

ความสัมพันธ์ระหว่างชานและทะไล ลามะนั้นถือว่าอยู่ในระดับใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาเริ่มเขียน The Wisdom of Forgiveness: Intimate Conversations and Journeys ซึ่งนอกจากจะบรรยายภาพทะไล ลามะอย่างค่อนข้างละเอียดชัดเจนแล้ว ยังทำให้เห็นมิตรภาพระหว่างเขากับผู้นำทางจิตวิญญาณชาวทิเบตที่น่าสนใจยิ่ง

ปัจจุบันเขาประจำอยู่ที่สถาบันวิจัยเอเชีย มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย

 
ปัญญาญาณแห่งการอภัย : บทสนทนาและการเดินทางเปี่ยมมิตรภาพ
ทะไลลามะ และวิกเตอร์ ชาน เขียน / สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี แปล
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ขนาด ๑๖ หน้ายกพิเศษ ๒๕๒ หน้า

สำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา